จุดบกพร่องในการสัมภาษณ์

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

1. ไม่ควรรับนัดสัมภาษณ์วันละหลาย ๆ บริษัทเพราะอาจเกิดเหตุติดขัดได้หลายประการ หรือไม่ผู้สมัครก็อาจเกิดความเมื่อยล้าในการรับการสัมภาษณ์กับบริษัทที่สัมภาษณ์ในช่วงท้าย ๆ
2. อย่าทักทายผู้สัมภาษณ์ด้วยการจับมือถ้าเขาไม่ได้ยื่นมือมาทักทายก่อน
3. ไม่ควรแย่งพูดขณะสัมภาษณ์หรือถามคำถามมากจนกระทั่งน่าสงสัยว่าใครสัมภาษณ์ใคร
4. ไม่ควรถามเกี่ยวกับวันหยุด กำหนดวันพักผ่อน การมาสายหรือการกลับก่อนเวลา เพราะเป็นการสร้างภาพพจน์ว่า ผู้สมัครงานอยากทำงานน้อย ๆ ชอบหยุดงานและที่สำคัญอย่างยิ่งไม่ควรถามเกี่ยวกับสหภาพแรงงานหรือการนัดหยุดงาน
5. ไม่ควรสวมแว่นกันแดดหรือใช้มือปิดปากเวลาพูดหรือกุมมือบนตักแน่น
6. ไม่ควรแสดงอาการประหม่า มือสั่น เท้าสั่น ทำตัวตื่นเต้น เสียงสั่น ควรสูดลม หายใจลึก ๆ และทำใจให้สบาย
7. ไม่ควรแสดงอาการกระตือรือร้นว่าอยากได้งานทำจนดูไม่เรียบร้อย พึงระลึกไว้เสมอว่า เรามีข้อดีที่เขาต้องการเรา ไม่ใช่เราต้องการงานเพียงฝ่ายเดียว
8. กรณีที่ผู้สัมภาษณ์เชิญให้นั่ง ควรกล่าวคำขอบคุณ อย่านั่งลงเฉย
9. กรณีที่ฟังคำถามไม่ชัด และต้องการให้ผู้สัมภาษณ์ถามใหม่ควรกล่าวขอโทษและขอให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง
10. ไม่ควรพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเพราะผู้สัมภาษณ์อาจจับข้อเท็จได้ไม่ยาก
11. ไม่ควรถามเรื่องเงินเดือนจนกว่าผู้สัมภาษณ์จะพอใจในตัวเราเสียก่อนและโดยทั่วไปผู้สัมภาษณ์จะต้องถามอยู่แล้ว
12. ไม่ควรตอบว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ นอกจากจะจนปัญญาจริง ๆ
13. ไม่ควรนินทาหรือตำหนิเจ้านายเก่า เพราะผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าต่อไปภายหน้าเขาเองก็อาจถูกตำหนิลับหลังได้เหมือนกัน
14. อย่าใช้คำสะแลง, คำย่อ, โดยไม่จำเป็น
15. อย่าใช้คำที่ไม่สุภาพ
16. ไม่ควรชวนพ่อแม่หรือเพื่อนไปรอสัมภาษณ์ด้วย เพราะผู้สัมภาษณ์จะรู้สึกว่าผู้สมัครไม่มีความมั่นใจในตัวเองต้องมีพี่เลี้ยงคอยดูแล

อ้างอิงจาก http://www.doe.go.th/lopburi/labor/labor.asp?hot_noticeid=80

0 ความคิดเห็น: